วันพ่อแห่งชาติ2562


                         วันพ่อแห่งชาติ

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชและหม่อมสังวาล

               โครงการพระราชดำริย์ในหลวง

โครงการชั่งหัวมัน
โครงการพระราชดำริ
บ้านไร่ของในหลวงแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการตามแนวพระราชดำริที่เกิดขึ้นจากความเอาพระราชหฤทัยใส่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงมีต่อราษฎรให้สามารถนำแนวทางไปดัดแปลงใช้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผืนดินของตนเอง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณใกล้อ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ประมาณ 250 ไร่ ซึ่งผืนดินบริเวณนี้แห้งแล้ง ประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ มีพระราชดำริให้ใช้พื้นที่ทั้งหมดจัดทำเป็นโครงการตัวอย่างแบบบูรณาการด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ภายใต้ชื่อ “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ” โดยสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ อาคาร ติดตั้งระบบไฟฟ้า พัฒนาปรับปรุงและปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นแปลงปลูกพืชผัก ผลไม้ และสัตว์เลี้ยง ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดหวังว่าอนาคตที่นี่จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่สมบูรณ์แบบสำหรับประชาชนทั่วไป

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

โครงการพระราชดำริ
ลุ่มน้ำปากพนังในอดีตเคยอุดมสมบูรณ์ เปรียบเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เมื่อกาลเวลา ผ่านไป กลับประสบปัญหาหลายประการ ด้วยสาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สภาพดินมีปัญหา นิเวศแหล่งน้ำขาดสมดุล เกิดปัญหาอุทกภัย น้ำเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง ทำให้ชาวบ้านใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคไม่ได้ ปัญหาของดินเปรี้ยวรวมทั้งน้ำเน่าเสียจากพื้นที่ทำนากุ้ง ไหลลงสู่ลำน้ำต่างๆ จนไม่สามารถนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้กลับคืนสู่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และยั่งยืน มีการน้ำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำมาใช้  มีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นเป็นการสร้างรายได้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดินอย่างจริงจังและ ต่อเนื่อง ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวและการเกษตรในพื้นที่โครงการฯ ให้เป็นแหล่งผลิต พันธุ์พืชที่เคยเป็นมาในอดีตให้กลับคืนมาสู่ประชาชนลุ่มน้ำปากพนังเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น